เปิดมุมมองสัมผัสวิถีชีวิตสบายๆ สไตล์ลาวเวียง ที่มีไม่กี่แห่งในเมืองไทย
เป็นถนนเล็กๆเส้นหนึ่งใจกลางชุมชน ที่สองฝั่งทางเป็นบ้านเรือน ซึ่งถนนเส้นนี้จะเป็นทุกอย่างของชุมชน ที่จะรวมเอาของดี ประเพณี วัฒนธรรม ของกิน ของฝาก อาหารพื้นถิ่น พื้นบ้าน การแต่งกาย การแสดงต่างๆ มาไว้ในถนนสายนี้โดยหวังจะจะเป็นการอนุรักษ์ ถ่ายทอด ให้คนในชุมชนและคนทั่วไปได้เข้ามาสัมผัส มาเดิน มาช็อป มาชิม มาแวะถ่ายภาพ เกิดเป็นการท่องเที่ยวชุมชน ขายตัวตน ขายเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของลาวเวียงที่มีอยู่ ซึ่งกิจกรรมเราจะจัดขึ้นแค่เพียงเดือนละ 1 ครั้ง ศุกร์และเสาร์ แรกของเดือน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้มาสัมผัสเพียงสองวันนี้เท่านั้น
เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุไว้มิให้สูญหายไป และให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประชุมปรึกษากลุ่มแกนนำในชุมชนได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งองค์ความรู้ในเรื่องของวิวัฒนาการการเปลี่ยนทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และนอกจากนั้นยังเป็นการจัดการทรัพยากรที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ คนกับสังคมและคนกับแหล่งเรียนรู้ภายใน เก็บรวบรวมสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะเก่าแก่ของ เครื่องใช้ ไม้สอย ของคนเก่าคนแก่ ต.หาดสองแคว เพื่อจัดแสดงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว คนที่สนใจได้เข้ามาชมและเรียนรู้ โดยของทุกชิ้นได้รับจากชาวบ้านที่นำมาบริจาคไว้ สิ่งของทุกชิ้นจะมีชื่อเจ้าของเดิมกำกับไว้ เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ บ้านๆ แบบชาวลาวเวียง
เป็นวัดเก่าสมัยโบราณ ตามตำนานบอกว่า วัดคลึงคราชตั้งอยู่ในเมืองตาชูชก ณบ้านเด่นสำโรง ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาเชื่อมร้อยกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าในชาดกเรื่องพระเวสสันดร วันคลึงคราชตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน แต่วัดคลึงคราชได้ได้เป็นวัดร้างมานาน ต่อมาได้รับการบูรณะก่อสร้างโดยหลวงพ่อพุ่ม จันทสโรเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมานี้ หลักฐานที่ปรากฏมีวิหารอุโบสถการก่อสร้างของหลวงพ่อพุ่ม ได้ขุดดินจากริมสระที่อยู่ภายในวัดมาปั้นอิฐ ลัวนำมาสร้างเป็นอุโบสถ นากจากนี้บริเวณสระยังพบเศษเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหัก โอ่งโบราณ ซึ่งขุดพบเมื่อประมาณปี 2500 ภายในโอ่งบรรจุกระดูก ปัจจุบันยังเปิดให้เข้าเยี่ยมชมและสักการะ
สัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ชาวลาวเวียง อันเป็นเอกลักษณ์
ประเพณีไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติ และพิธีขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสายน้ำน่าน เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำน่านที่นำความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่สงบ ร่มเย็น ซึ่งเป็นกิจจกรรมประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ภายในงานประมีการแสดง แสง สี เสียง การจุดเทียนชัย และขบวนแพไฟของแต่ละอำเภอ ที่ประดับตกแต่ง ลวดลายอย่างสวยงามอลังการ
ตื่นเช้าๆหาบนำเอาอาหาร ความหวานไปถวายพระที่วัดในตอนเช้า 06.00 น. พระที่มาบิณฑบาตในตอนเช้าจะได้แต่ข้าวสวยใส่บาตรไป ส่วนอาหารคาวหวาน จะมีนางหาบ นายหาบ แต่งตัวชุดลาวเวียง วันละประมาณ 10 หาบ ทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนหาบเอาอาหารเดินตามพระเข้าวัดไปอีกที่ ซึ่งอาหารคาวหวานที่หาบไปส่งพระจะได้จากชาวบ้านระหว่างทาง ซึ่งชาวบ้านนำอาหารมาว่างไว้แป้นเสาหน้าบ้านใครหน้าบ้านมัน นางหาบ นายหาบ ก็จะเดินเก็บอาหารตามแป้นเสาหน้าบ้านแต่ละหลังไปเรื่อยจนถึงวัด แล้วจึงเอาอาหารถวายพระ เสร็จจากถวายเสร็จ นางหาบ นายหาบ ก็จะเอาชามอาหารของแต่หลังวางคืนไว้แป้นเสาหน้าบ้าน เป็นอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน เว้นวัดพระหรือพระมีกิจนิมนต์
จัดขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕และเพื่อย้อนรำลึกถึงวันที่เสด็จเมืองตรอนตรีสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม๒๔๔๔ โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 22 ตุลาคมภายในงานมีกิจกรรมพิธีบวงสรวงฯ การแต่งกายชุดผ้าไทยพื้นเมืองการแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจของ รัชกาลที่ 5เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๔๔พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5ได้เสด็จประพาสต้นทางชลมารคเพื่อตรวจตราและดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่ราษฎรทางหัวเมืองฝ่ายเหนือโดยเรือกลไฟออกจากพระนคร เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2444 (ร.ศ.120)และทรงแวะประทับแรมเรื่อยมา จนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ในปีเดียวกันได้เสด็จถึงเมืองพิไชย และทรงประทับแรม 1 คืนวันรุ่งขึ้นจึงได้เสด็จออกจากเมืองพิไชยสู่เมืองตรอนตรีสินธุ์และทรงประทับแรมที่นี่เป็นเวลา 1 คืนก่อนจะเสด็จต่อไปยังบางโพท่าอิฐ ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ส่วนเมืองพิไชย ปัจจุบันคือ อำเภอพิชัย และเมืองตรอนตรีสินธุ์ ปัจจุบันคือ อำเภอตรอนดังปรากฏหลักฐานไว้ในพระราชหัตถเลขาของพระองค์
พอถึงเดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ก็จะมีพิธีทำบุญกลางบ้าน นิมนต์พระสงฆ์มาสวด 7 ตำนาน 12 ตำนาน พรานต้น มีการสวดอยู่ 3 คืน 3 วัน ตอนเช้าจะถวายภัตตาหาร แด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นประเพณีสืบมา เมื่อถึงวันสุดท้ายของการทำพิธีที่เรียกว่า พิธีส่งบ้านส่งเมือง ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะทำกระทง 4 เหลี่ยม จากกาบกล้วย และทำกระทงเล็ก เพื่อใส่อาหารหวาน คาว ทำตุ๊กตาตามจำนวนคนที่อยู่ในบ้าน บางบ้านถ้ามีรถก็จะทำรถใส่ลงมาด้วย จากนั้นก็จะนำมารวมกันที่บริเวณพิธี เพื่อทำพิธีส่งบ้านส่งเมือง เพื่อทำการสะเดาะเคราะห์ ตามความเชื่อที่มีมา 100 กว่าปีของชาวตำบลหาดสองแคว คนรุ่นหลังจึงได้อนุรักษ์ประเพณีทำบุญกลางบ้านนี้ไว้ ให้อยู่คู่กับคนหาดสองแควตลอดไป ซึ่งจะจัดขึ้นที่อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ 2 หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแควเป็นประจำ
กินอิ่ม นอนอุ่น ใกล้ชิดวิถิชีวิตลาวเวียง ในรูปแบบโฮมสเตย์
เราคัดสรรแพลนการท่องเที่ยวเพื่อความสะดวกในการเดินทางของคุณ
สัมผัสบริบท ตะรอนชมวิถีชุมชน
สาแหรกจิ๋ว กลองยาวสมานทอง
ริมน้ำ บ้าน อ.สนิท
วัดบ้านแก่งใต้
สะพานสลิงบ้านแก่ง (สะพานดิงดอง)
รับประทานอาหารเย็น
สอบถามเพิ่มเติม
อื่นๆ
สัมผัสบริบท ตะรอนชมวิถีชุมชน
เรียนรู้อาหารพื้นบ้าน (อั่วบักเผ็ด)
ริมน้ำ บ้าน อ.สนิท
สาแหรกจิ๋ว กลองยาวสมานทอง
วัดบ้านแก่งใต้
สะพานสลิงบ้านแก่ง (สะพานดิงดอง)
บ้านพักโฮมสเตย์
อื่นๆ
สัมผัสบริบท และบรรยากาศชุมชน
สวนไผ่ซางหม่น
ริมน้ำ บ้าน อ.สนิท
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หมู่ที่ 1
กลุ่มปักผ้า รักษ์โลก
วัดบ้านแก่งใต้
สะพานสลิงบ้านแก่ง (สะพานดิงดอง)
อื่นๆ
คุณสามารถค้นหาจุดหมายปลายทางของคุณได้ตามแผ่นที่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และที่พัก
เป็นถนนเล็กๆเส้นหนึ่งใจกลางชุมชน ที่สองฝั่งทางเป็นบ้านเรือน ซึ่งถนนเส้นนี้จะเป็นทุกอย่างของชุมชน ที่จะรวมเอาของดี ประเพณี วัฒนธรรม ของกิน ของฝาก อาหารพื้นถิ่น พื้นบ้าน การแต่งกาย การแสดงต่างๆ มาไว้ในถนนสายนี้โดยหวังจะจะเป็นการอนุรักษ์ ถ่ายทอด ให้คนในชุมชนและคนทั่วไปได้เข้ามาสัมผัส มาเดิน มาช็อป มาชิม มาแวะถ่ายภาพ เกิดเป็นการท่องเที่ยวชุมชน ขายตัวตน ขายเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของลาวเวียงที่มีอยู่ ซึ่งกิจกรรมเราจะจัดขึ้นแค่เพียงเดือนละ 1 ครั้ง ศุกร์และเสาร์ แรกของเดือน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้มาสัมผัสเพียงสองวันนี้เท่านั้น